
ฉนวนกันเสียงคืออะไร
หากจะอธิบายง่าย ๆ ฉนวนกันเสียงหรือวัสดุกันเสียง (Sound Isolation) ทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวน จากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ไม่ให้ผ่านทะลุเข้ามา หรือออกไปจากห้องนั่นเอง มีประสิทธิภาพในการลดเสียงหรือกันเสียงผ่านผนังได้มากน้อยแตกต่างกันตามแต่ชนิดของวัสดุ หลักสำคัญคือการกั้นเสียงให้ผ่านให้น้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัสดุที่มีรูพรุน (Open Cell) เพราะช่วยซับเสียงได้มากกว่าวัสดุผิวเรียบ วัสดุกันเสียงส่วนใหญ่ใช้งานร่วมกับผนังและฝ้าเพดานได้ทุกแบบ ใช้ได้ทั้งผนังอิฐ ปูน รวมถึงผนังไม้และโครงเบา การติดตั้งนั้นสามารถทำได้ด้วยการติดตั้งบนโครงบนผนัง โดยใส่ฉนวนกันเสียงลงไป และปิดทับด้วยแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือสามารถติดบนผนังเลยก็ได้ เมื่อติดตั้งแล้วจะช่วยลดระดับพลังงานของเสียง เป็น Double Wall ที่อาศัยหลักการการดูดซับเสียงข้างต้น ถ้าความหนามากเท่าไหร่ ก็จะช่วยซับเสียงได้มากเท่านั้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับวัสดุด้วย
ประเภทของฉนวนกันเสียง ที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งาน
วัสดุที่นิยมใช้ทำฉนวนกันเสียงนั้นมีหลากหลายชนิดมาก คุณสมบัติก็แตกต่างกันไป ทั้งดูดซับเสียง หรือช่วยลดเสียงรบกวนค่า Noise Reduction Coefficient (NRC) ที่เป็นตัวเลขระบุถึงความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุนั้น ๆ และค่า Sound Transmission Class (STC) ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงระดับการส่งผ่านของเสียง เรามาดูกันว่า ส่วนใหญ่นั้นทำมาจากวัสดุอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร
เป็นฉนวนกันเสียงประเภทที่หาง่ายที่สุด ตามร้านวัสดุก่อนสร้าง หรือร้านเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบเสียงก็มีขาย ผลิตจากใยแก้วเส้นสั้น ๆ ขึ้นรูปด้วยสารยึดเกาะ (Binder) เพื่อให้มีความหนาแน่นและได้รูปร่างตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่แล้ว โดยทั่วไปจะเป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรมีความหนาแน่นต่ำที่ 24 kg/m3 (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และไม่เกิน 48 kg/m3 สำหรับแบบพิเศษหรือสั่งผลิตเพื่อใช้งานเฉพาะจะมีความหนา เริ่มต้นที่ 60 kg/m3 ไปจนถึง 96 kg/m3 ฉนวนใยแก้วความหนาแน่นต่ำ เป็นที่นิยมใช้งานเพราะราคาไม่สูง ไม่ลามไฟ หาซื้อได้ง่าย มีค่า NRC และ STC ในการแก้ปัญหาเสียงในระดับปานกลาง เช่น เสียงจากผนังบ้านที่อยู่ติดกัน หรือผนังกันเสียงสำหรับพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งวัสดุจะใช้เป็นฉนวนกันความร้อนก็ได้
ฉนวนประเภทนี้ไม่นิยมใช้งานในวงกว้างมากนัก ส่วนใหญ่แบบคุณภาพดี ต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น ไม่สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศได้ และมักใช้กับงานหรือพื้นที่เฉพาะทาง เช่น แก้ปัญหาเสียงดังรบกวนในโรงงาน หรือพื้นที่ที่มีเสียงดังขั้นรุนแรง ฉนวนกันเสียงใยแก้วความหนาแน่นสูง ได้รับความนิยมใช้งานมากในต่างประเทศ เพราะช่วยแก้ปัญหามลภาวะทางเสียงได้ดี มีคุณสมบัติโดดเด่นในการซับเสียงความหนาแน่นเริ่มต้นตั้งแต่ 160 kg/m3 ไปจนถึง 220 kg/m3 มีค่า NRC และ STC สูง ฉนวนประเภทนี้มีเส้นใยขนาดใหญ่กว่า 6 ไมครอน ไม่มี Binder เป็นส่วนผสมจึงมีค่าการยุบตัวน้อยมากเกิดฝุ่นน้อยมากไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และระบบหายใจไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ ทนอุณหภูมิความร้อนได้สูงถึง 600 - 1,200 องศา
ฉนวนใยหิน (Rock Wool)
เป็นฉนวนกันเสียงแบบที่นิยมนำมาใช้งานทั่วไป หรือใช้งานแบบชั่วคราว สำหรับงานบางประเภท เช่น งานกลางแจ้ง งานอู่ งานเครื่องจักร ห้องเครื่องยนต์เรือ ตู้ขนส่งสินค้า ที่ไม่เน้นเรื่องการซับเสียงมากเท่าไหร่ ราคาค่อนจะข้างถูกกว่าประเภทอื่น มีคุณสมบัติพอใช้ทั้งการกันเสียง และใช้เป็นผนังกันความร้อนผนังเตาต่าง ๆ แล้ว หรืองานที่ต้องการประหยัดงบประมาณ มีให้เลือกทั้งแบบม้วน และแบบเป็นแผ่น
ฉนวนยางสังเคราะห์
เป็นฉนวนกันเสียงอีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมในการใช้งานมากขึ้นคือ ฉนวนที่ผลิตวัสดุยางสังเคราะห์หรือวัสดุ Thermoplastic อย่างเช่น Polyethylene Foam, Polyurethane Sheet, EPDM หรือ Closeก-Cell Rubber ฉนวนประเภทนี้ มีคุณสมบัติที่ดีคือไม่เกิดฝุ่น กันน้ำและไม่เกิดเชื้อรา มีค่า STC และ NRC หลายแบบ มีให้เลือกคุณภาพ ในราคาที่ต่างกัน ขึ้นอยู่ลักษณะการใช้งานในการควบคุมเสียง และงบประมาณของเรา มีให้เลือกทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น มีสีหลัก ๆ คือสีดำ แต่บางยี่ห้อเราสามารถสั่งผลิตมีสีตามที่ต้องการได้
ฉนวนวัสดุสังเคราะห์
เป็นฉนวนที่ช่วยป้องกันเสียง ช่วยดูดซับเสียงได้ดีมากอีกประเภทหนึ่ง ผลิตขึ้นจากเศษไม้ เศษขี้เลื่อยผสมกับวัสดุสังเคราะห์ประเภทยาง Thermosetting เช่น Polyester หรือ Epoxy นิยมนำมาใช้กรุผิวหน้าผนังอาคารหรือฝ้าเพดาน เพื่อป้องกันเสียงก้อง เสียงสะท้อน ส่วนใหญ่ใช้กับห้องประชุม ห้องอัดเสียง หรือโรงแรมที่เน้นความสวยงามหรูหรา มีความโดดเด่น ดูพรีเมียม เหมาะใช้ในการตกแต่งห้องไปในตัวด้วย และพื้นผิวยังง่ายต่อการทำความสะอาด ข้อเสียของฉนวนชนิดนี้คือ หาซื้อได้ยากและมีราคาแพง และบางสีต้องสั่งผลิตขึ้นมาพิเศษโดยเฉพาะ
ฉนวนอะคูสติก
เป็นวัสดุกันเสียง รือซับเสียง ที่ผลิตขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ผลิตจากเยื่อธรรมชาติอัดแน่นเป็นแผ่นความหนาแน่นสูง เรียกกันว่า Mineral Fiber มีคุณภาพในการดูดเสียง เก็บเสียง ลดเสียงก้อง ป้องกันเสียงสะท้อน (Reverberant Sound) หรือป้องกันเสียงจากภายนอกได้เป็นอย่างดี แต่จะเน้นการใช้งานในพื้นที่ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพด้านเสียงโดยเฉพาะวัสดุไม่ลามไฟ ปลวกไม่กิน ไม่ดูดซับความชื้น มีความปลอดภัยในการใช้งานสูงติดตั้งได้ทั้งเพดานและผนัง สามารถติดตั้งแทนฝ้าเพดานได้เลย มักนิยมใช้ในห้องประชุม ห้องทำงาน ห้องสัมมนา ห้องอัดเสียง โรงภาพยนตร์
คลายข้อสงสัย ฉนวนกันเสียง - ฉนวนกันความร้อน ทำไมถึงแตกต่างกัน
ยังมีความสับสนว่า ฉนวนกันเสียงกับฉนวนกันความร้อนใช้งานได้เหมือนกัน เพราะด้วยลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายกันนั่นเอง ทำให้หลายคนเข้าใจผิดและเอามาปะปนใช้งาน ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรมากนัก หากจะเป็นการใช้งานแบบชั่วคราว หรือในจุดที่ไม่ได้ต้องการป้องกันเสียงแบบจริงจัง แต่หากจะใช้เพื่อการป้องกันเสียง หรือซับเสียงแบบจริงจังแล้ว ต้องบอกเลยว่าใช้แทนกันไม่ได้ อย่างที่บอกกันไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ฉนวนประเภทที่ใช้กันเสียง จะมีค่า NRC และค่า STC ซึ่งมีความสำคัญในการลดเสียงลงได้ แต่ฉนวนกันความร้อน จะมีเพียงค่า Thermal Conductivity และ Density เท่านั้น เป็นค่าวัดเพียงเพื่อป้องกันความร้อนผ่าน ลดอุณหภูมิความร้อน ไม่สามารถใช้งานแทนกันได้อย่างจริงจัง
พื้นที่ที่เหมาะกับการติดตั้งฉนวนกันเสียง
แม้ว่าฉนวนกันเสียงจะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่เฉพาะ เช่น ห้องอัดเสียง โรงภาพยนตร์ สถานที่ทำงานที่ต้องการความเงียบ ห้องประชุม ห้องสัมมนา ฯลฯ แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิต และราคาที่จับต้องได้มากขึ้น ทำให้ฉนวนประเภทนี้ได้รับความนิยมติดตั้งในบ้านพักอาศัย รวมถึงคอนโดมิเนียมด้วย เรามาดูกันว่าห้องแบบไหน ที่เหมาะกับการติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงบ้าง
1. ห้องนั่งเล่น ห้องดนตรี ดูหนังฟังเพลง
เดี๋ยวนี้เรามักจะทำกิจกรรมในบ้านกันมากขึ้น ทั้งดูหนัง เล่นเกม ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะร่วมกับทุกคนในครอบครัว เรียกว่าแต่ละบ้านมักจะมี Home Entertainment เพื่อการพักผ่อนที่มีความสุข แต่ห้องแบบนี้มักจะมีเสียงดังรบกวนไปยังห้องอื่น ๆ ได้ง่าย เพราะมีแต่อุปกรณ์ที่ต้องใช้เสียง การติดตั้งฉนวนกันเสียงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะป้องกันเสียงรบกวนจากด้านนอกแล้ว ยังช่วยเก็บเสียงภายในห้อง ลดเสียงก้อง เพิ่มอรรถรสในการพักผ่อนของเราได้มากขึ้นจริง ๆ โดยเราสามารถติดตั้งฉนวนกันเสียงได้ทั้งฝ้าเพดานและผนัง หรือติดตั้งไว้ในโครงผนังได้ด้วยเช่นกัน
2. ห้องรับแขก
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นพื้นที่ที่ทุกคนในบ้านมาใช้งานร่วมกัน ทำให้เกิดมีเสียงดังมาก การติดตั้งฉนวนกันเสียงจะช่วยให้ห้องนั่งเล่นของเราดูสบาย ๆ ขึ้น เพราะช่วยลดเสียงก้อง เสียงสะท้อนภายในได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหากต้องทำกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน เราสามารถติดตั้งฉนวนได้ที่ผนังรอบ ๆ ด้าน เลือกโทนสีและดีไซน์ให้เหมาะกับห้องนั่งเล่นของเรา นอกจากป้องกันเสียงได้ดีแล้ว ยังเพิ่มเสน่ห์ให้กับห้องของเราได้อีกด้วย
3. ห้องนอน
ไม่ว่าจะเป็นห้องนอนในบ้าน หรือห้องนอนคอนโดมิเนียม ก็เหมาะกับการติดตั้งฉนวนกันเสียง เพราะเป็นพื้นที่พักผ่อนที่ต้องการความสงบเป็นส่วนตัว สามารถติดตั้งได้ทั้งฝ้าเพดานและผนังเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก สามารถเลือกฉนวนป้องกันเสียงที่มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ เหมือนการตกแต่งห้องได้ด้วย หรืออาจจะใช้เพียงแค่บางจุดภายในห้องเพื่อช่วยลดเสียงก้องเสียงสะท้อน
คุณสมบัติและประโยชน์ที่ดีของฉนวนกันเสียง
-
ป้องกันเสียงดังรบกวนจากภายนอก ลดเสียงก้อง เสียงสะท้อน ทำให้ภายในห้องเงียบมากขึ้น
-
ป้องกันเสียงผ่านระหว่างห้อง สามารถทำงาน ทำกิจกรรมได้อย่างมีความสุข ไม่มีเสียงดังรบกวน
-
ป้องกันเสียงดังของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมไม่ให้เกินมาตรฐานที่กำหนด ลดเสียงเครื่องจักรไม่ให้ดังรบกวนภายนอก
-
ป้องกันเสียงดังในสถานที่สำคัญ หรือสถานที่ที่ต้องทำงานด้านเสียงโดยเฉพาะ ใช้ควบคุมเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ที่กฎหมายระบุให้ต้องควบคุมระดับเสียง เช่น โรงภาพยนตร์ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับชม ลดเสียงสะท้อน
-
ช่วยดูแลสุขภาพ ลดเสียงก้อง เสียงสะท้อน เสียงดังที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยิน หรือลดการที่ต้องตะเบ็งเสียงแข่งกับเสียงรบกวนภายนอก